เวียตเจ็ทไทยแลนด์ลดกระหน่ำต้อนรับเดือนตุลาคมด้วยโปรโมชั่น “ต้อนรับฤดูใบไม้เปลี่ยนสี บินฟิน ราคาสุดคุ้ม! (Hello October)” เสนอบัตรโดยสารราคาพิเศษ เริ่มต้นเพียง 790 บาท (รวมภาษีและค่าธรรมเนียม) สำหรับเดินทางบนเครือข่ายเส้นทางบินภายในประเทศ และราคาเริ่มต้น 1,790 บาท (รวมภาษีและค่าธรรมเนียม) สำหรับเดินทางบนเครือข่ายเส้นทางบินระหว่างประเทศ สามารถสำรองบัตรโดยสารได้ระหว่างวันนี้จนถึงวันที่ 7 ตุลาคม 2567 ใช้เดินทางได้ระหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน 2567 – 31 พฤษภาคม 2568 (ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์) ที่
บัตรโดยสารราคาโปรโมชั่นนี้สามารถใช้เดินทางได้กับทุกเส้นทางบินบนเครือข่ายเส้นทางบินภายในประเทศของเวียตเจ็ทไทยแลนด์ ได้แก่ กรุงเทพฯ (สุวรรณภูมิ) สู่ เชียงใหม่ เชียงราย ภูเก็ต กระบี่ หาดใหญ่ สุราษฎร์ธานี อุดรธานี ขอนแก่น และอุบลราชธานี รวมถึงเส้นทางบินข้ามภูมิภาคจาก ภูเก็ต สู่ เชียงใหม่ และเชียงราย และทุกเส้นทางบินบนเครือข่ายเส้นทางบินระหว่างประเทศของเวียตเจ็ทไทยแลนด์ ได้แก่ กรุงเทพฯ (สุวรรณภูมิ) สู่ เวียดนาม พนมเปญ สิงคโปร์ ฟูกุโอกะ ไทเป เซี่ยงไฮ้ และหางโจว รวมถึงเส้นทางบินตรงจาก เชียงใหม่ สู่ โอซาก้า ผู้โดยสารสามารถสำรองบัตรโดยสารราคาพิเศษนี้ได้ที่เว็บไซต์ แอปพลิเคชัน “Vietjet Air” หรือผ่านช่องทางเฟซบุ๊กที่
พร้อมกันนี้ เวียตเจ็ทไทยแลนด์เปิดตัวบริการบนเส้นทางบินใหม่ระหว่าง กรุงเทพฯ (สุวรรณภูมิ) และ โอกินาว่า (ผ่านไทเป) โดยจะเริ่มให้บริการในวันที่ 2 พฤศจิกายน 2567 เป็นต้นไป เพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้โดยสารสามารถเดินทางสู่โอกินาว่า จังหวัดทางตอนใต้ของญี่ปุ่นซึ่งมีทัศนียภาพที่สวยงามและมรดกทางวัฒนธรรมอันทรงคุณค่า นอกจากนี้ สายการบินฯ คว้ารางวัล “สายการบินโลว์คอสที่เติบโตเร็วที่สุดแห่งปี 2564” จากนิตยสารโกลบอล บิสซิเนส เอาท์ลุค กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร และรางวัล “สายการบินที่พนักงานต้อนรับบนเครื่องบินเป็นมิตรมากที่สุดแห่งปี 2564” จากนิตยสาร International Finance เวียตเจ็ทไทยแลนด์ยึดมั่นในค่านิยมหลัก คือ ‘ความสนุกสนานและเป็นมิตร’ ควบคู่กับ ‘ความปลอดภัย’ ‘ความตรงต่อเวลา’ และ ‘ราคาที่เข้าถึงได้’
เวียตเจ็ทไทยแลนด์ให้บริการครอบคลุม 11 เส้นทางบินภายในประเทศ ได้แก่ เส้นทางบินจาก กรุงเทพฯ (สุวรรณภูมิ) สู่ เชียงใหม่ เชียงราย ภูเก็ต กระบี่ อุดรธานี หาดใหญ่ ขอนแก่น อุบลราชธานี และสุราษฎร์ธานี รวมถึงเที่ยวบินข้ามภูมิภาค จาก ภูเก็ต สู่ เชียงใหม่ และเชียงราย พร้อมกันนี้ สายการบินฯ ได้ขยายเส้นทางบินระหว่างประเทศสู่หลากหลายจุดหมายปลายทางในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก เชื่อมต่อประเทศไทยกับเวียดนาม จีน สิงคโปร์ กัมพูชา ญี่ปุ่น ไทเป และอีกหลายจุดหมายปลายทางทั่วทั้งภูมิภาค
นางสาวดวงกมล ลิมป์พวงทิพย์ ประธานคณะเจ้าหน้าที่ด้านลูกค้าธุรกิจ SME ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)
กรุงศรี (ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)) เดินหน้าหนุน SME สู่ความยั่งยืน เต็มกำลัง ด้วยการเปิดตัว 2 ผลิตภัณฑ์ใหม่ ภายใต้กลุ่มผลิตภัณฑ์สินเชื่อ SME เพื่อความยั่งยืน หรือ Krungsri SME Sustainability Loan for All ที่ตอบโจทย์ความต้องการด้านการดูแลสิ่งแวดล้อมของธุรกิจได้อย่างครอบคลุม ได้แก่ “Krungsri SME Sustainability Businesses” สำหรับธุรกิจที่สนับสนุนความยั่งยืน และ “Krungsri SME for PPA” สำหรับธุรกิจที่ทำการลงทุนผลิตและขายไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ โดยยังคงชูจุดขายดอกเบี้ย 3.5% ต่อปี 2 ปีแรก และมีเป้าหมายสำหรับกลุ่มผลิตภัณฑ์สินเชื่อ SME เพื่อความยั่งยืนภายในปี 2567 ไว้ที่กว่า 4,500 ล้านบาท
นางสาวดวงกมล ลิมป์พวงทิพย์ ประธานคณะเจ้าหน้าที่ด้านลูกค้าธุรกิจ SME ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “ความยั่งยืนเป็นโจทย์ใหญ่สำหรับทุกกลุ่มประเภทธุรกิจ รวมทั้งผู้ประกอบการ SME กรุงศรี ในฐานะสถาบันการเงินที่มีความรับผิดชอบ เราตระหนักถึงบทบาทในการเป็นหนึ่งกลไกที่ช่วยสนับสนุนและผลักดันให้ธุรกิจปรับตัวและเปลี่ยนแปลงสู่เส้นทางของความยั่งยืนได้อย่างราบรื่น จึงได้ออกแบบกลุ่มผลิตภัณฑ์สินเชื่อ Krungsri SME Sustainability Loan for All ซึ่งถือเป็นซีรีส์ของผลิตภัณฑ์สินเชื่อเพื่อความยั่งยืนสำหรับลูกค้า SME ในแต่ละกลุ่มที่มีความต้องการแตกต่างกัน ด้วยดอกเบี้ยพิเศษที่ 3.5% ต่อปี 2 ปีแรก ภายใต้โจทย์หลักคือเพื่อช่วยบริหารจัดการต้นทุนทางการเงินที่เกิดขึ้น ให้ธุรกิจเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องที่ง่ายขึ้น และส่งผลกระทบกับต้นทุนทางธุรกิจน้อยที่สุด โดยก่อนหน้านี้กรุงศรีได้นำเสนอผลิตภัณฑ์สินเชื่อ 2 ตัวแรกไปแล้ว ได้แก่ Krungsri SME Solar Rooftop เพื่อสนับสนุนการใช้พลังงานทางเลือก และ Krungsri SME Transition Loan เพื่อสนับสนุนให้ SME สามารถปรับตัวและเปลี่ยนผ่านสู่เส้นทางของความยั่งยืนได้อย่างราบรื่น”
“ในครั้งนี้ กรุงศรีได้เปิดตัวเพิ่มอีก 2 ผลิตภัณฑ์ ได้แก่ Krungsri SME Sustainability Businesses สินเชื่อสำหรับ SME ที่ดำเนินธุรกิจที่สนับสนุนความยั่งยืน และ Krungsri SME for PPA สินเชื่อเพื่อธุรกิจที่ทำการลงทุนผลิตและขายไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ในรูปแบบโซลาร์เซลล์ ซึ่งทำให้เราสามารถตอบโจทย์ความต้องการของผู้ประกอบการ SME ได้ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น ทั้งในส่วนของผู้ประกอบการที่อยู่ในธุรกิจที่สนับสนุนความยั่งยืนโดยตรง และผู้ประกอบที่อยู่ในธุรกิจทั่วไปๆ ที่ต้องการเปลี่ยนผ่านสู่ความยั่งยืนและมีความต้องการที่จะปรับปรุงหรือลงทุนในกิจการเพิ่มเติมเพื่อช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ลดปัญหาภาวะโลกร้อน หรือช่วยอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมถึงลดต้นทุนค่าใช้จ่ายในการทำธุรกิจ”
ทั้งนี้ กลุ่มผลิตภัณฑ์สินเชื่อ Krungsri SME Sustainability Loan for All ประกอบไปด้วย 4 ผลิตภัณฑ์สินเชื่อเพื่อความยั่งยืน ดังนี้
“เพื่อรองรับความต้องการของผู้ประกอบการ SME กรุงศรีได้จัดเตรียมวงเงินรวมสำหรับกลุ่มสินเชื่อดังกล่าวจำนวนกว่า 4,500 ล้านบาท โดยหวังว่าผลิตภัณฑ์ดังกล่าวจะช่วยส่งเสริมสนับสนุนการมีส่วนร่วมของภาคธุรกิจในการตอบสนองกับปัญหาภาวะโลกร้อน และช่วยเสริมทัพธุรกิจเพื่อความยั่งยืนให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น ซึ่งนอกเหนือจากการสนับสนุนทางการเงินแล้ว กรุงศรียังพร้อมติดอาวุธทางปัญญาด้วยการสร้างความรู้ ความเข้าใจ รวมถึงให้คำแนะนำในการปรับตัวสู่ธุรกิจคาร์บอนต่ำผ่านงานสัมมนาและกิจกรรมอื่นๆ อย่างต่อเนื่อง” นางสาวดวงกมล กล่าวปิดท้าย
สำหรับผู้ประกอบการที่สนใจ สามารถศึกษารายละเอียดข้อมูลเพิ่มเติมหรือสอบถามข้อมูลได้ที่สาขาของธนาคาร หรือติดต่อผู้จัดการธุรกิจสัมพันธ์หรือศูนย์บริการลูกค้าธุรกิจกรุงศรี โทร. 02-626-6262 โดยเงื่อนไขเป็นไปตามที่ธนาคารกำหนด
KEY SUMMARY
การผลิตเหล็กในประเทศปี 2025 มีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อย จากอุปสงค์การใช้งานที่เพิ่มขึ้นในภาคการก่อสร้างเป็นหลัก แต่ยังมีปัจจัยกดดันจากเหล็กจีนที่เข้ามาตีตลาดอย่างต่อเนื่อง
อุปสงค์การใช้งานเหล็กที่หดตัวทั้งในภาคการก่อสร้าง และการผลิตรถยนต์ในช่วงต้นปี 2024 ประกอบกับเหล็กราคาถูกจากต่างประเทศเข้ามาตีตลาด ส่งผลให้ปริมาณการผลิตเหล็กในประเทศปี 2024 มีแนวโน้มหดตัว 12.7%YOY อย่างไรก็ดี ปริมาณการผลิตเหล็กมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นในปี 2025 โดยคาดว่าจะอยู่ที่ประมาณ 5.8 ล้านตัน (+0.8%YOY) จากอุปสงค์การใช้งานที่ขยายตัว โดยเฉพาะในภาคการก่อสร้าง ขณะที่เหล็กจากต่างประเทศที่มีราคาถูกกว่ายังคงถูกนำเข้ามาใช้งานต่อไป กระทบกับอัตราการใช้กำลังการผลิตเหล็กของไทย (%CapU)
ที่ลดลงมาอย่างต่อเนื่อง จนอยู่ในระดับต่ำกว่า 30% ซึ่งเป็นอัตราที่ถือว่าค่อนข้างวิกฤตในปัจจุบัน นอกจากนี้
การเข้ามาตั้งโรงงานผลิตเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ และการเข้ามาทำการตลาดเชิงรุกของผู้ผลิตและผู้ค้าเหล็กจากจีนยังเป็นปัจจัยกดดันให้อุตสาหกรรมเหล็กของไทยต้องเผชิญกับภาวะวิกฤตที่หนักกว่าเดิม สำหรับราคาเหล็กในปี 2025 ยังคงมีแนวโน้มที่ลดลงตามแนวโน้มราคาวัตถุดิบ และราคาพลังงาน
ส่งผลให้ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมเหล็กต้องหาแนวทางบริหารจัดการต้นทุน และการระบายสต็อกสินค้า เพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของราคาจำหน่ายสินค้าเหล็กที่มีโอกาสลดลง
การปรับตัวเข้าสู่ Carbon neutrality จะเป็นปัจจัยกดดันผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมเหล็ก โดยผู้ผลิตเหล็กที่สามารถลดการปล่อย GHG จะเป็นผู้ที่มีความได้เปรียบในการแข่งขัน
การตั้งเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (GHG) ส่งผลให้ทั่วโลกเริ่มมีการใช้นโยบาย และกฎระเบียบ
ด้านสิ่งแวดล้อมมากขึ้น โดยเฉพาะการจัดเก็บภาษี CBAM ของกลุ่มสหภาพยุโรป (EU) ทั้งนี้ในปัจจุบันผู้ผลิตเหล็กของไทยเริ่มมีการปรับปรุงกระบวนการผลิตให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น รวมถึงได้มีการจัดทำข้อมูลการปล่อย GHG เพื่อสร้างโอกาสในการเป็นส่วนหนึ่งของ Green supply chain ของอุตสาหกรรมเหล็ก และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ท่ามกลางแนวโน้มที่ทั่วโลกกำลังปรับตัวเข้าสู่ Carbon neutrality
Industry overview
อุตสาหกรรมเหล็กของไทยประกอบด้วยผู้ประกอบการกลุ่มกลางน้ำ และผู้ประกอบการกลุ่มปลายน้ำ โดยผู้ประกอบการ
กลุ่มกลางน้ำ เป็นผู้ผลิตและแปรรูปวัตถุดิบเหล็กขั้นกลาง ได้แก่ เหล็กแท่งแบน (Slab) และเหล็กแท่งยาว (Billet)
ซึ่งส่วนมากต้องอาศัยการนำเข้าจากต่างประเทศ เนื่องจากการหลอมเศษเหล็กในประเทศเพื่อนำมาผลิตเป็นเหล็กกลางน้ำ ยังคงไม่เพียงพอต่อการนำไปผลิตต่อเป็นสินค้าเหล็กขั้นปลาย สำหรับผู้ประกอบการกลุ่มปลายน้ำ เป็นผู้ผลิตสินค้าขั้นปลาย โดยการนำผลิตภัณฑ์เหล็กกลางน้ำไปแปรรูป ผ่านกระบวนการรีดร้อน รีดเย็น เคลือบผิว หรือนำไปขึ้นรูปเป็นเหล็กในรูปทรงต่าง ๆ เช่น เหล็กแผ่นรีดร้อน/เย็น เหล็กเคลือบ/ชุบ เหล็กเส้น และเหล็กโครงสร้างรูปพรรณต่าง ๆ ทั้งนี้สามารถจำแนกผู้ประกอบการตามกิจกรรมและกลุ่มประเภทสินค้าได้ 4 กลุ่มหลัก ได้แก่ 1) ผู้ผลิตเหล็กทรงยาว 2) ผู้ผลิตเหล็กทรงแบน
3) ผู้ค้าเหล็ก และ 4) ผู้ประกอบการอื่น ๆ ที่มีการผลิตหรือจำหน่ายเหล็กซึ่งไม่ได้ถูกจัดกลุ่มไว้ใน 3 กลุ่มข้างต้น
รูปที่ 1 : บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หมวดอุตสาหกรรมเหล็ก และเหล็กกล้า
อุตสาหกรรมเหล็กของไทย ส่วนใหญ่เป็นการผลิตเหล็กทรงยาวสำหรับการก่อสร้างในประเทศ ขณะที่เหล็กราคาถูกจากต่างประเทศถูกนำเข้ามาเพิ่มขึ้น ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตลดลงต่อเนื่อง
อุตสาหกรรมเหล็กของไทย ส่วนใหญ่เป็นการผลิตเหล็กทรงยาวสำหรับการก่อสร้างในประเทศ ขณะที่เหล็กราคาถูกจากต่างประเทศถูกนำเข้ามาเพิ่มขึ้น ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตลดลงต่อเนื่อง
การประกาศยกเลิกใช้งานเตาหลอมประเภทอินดักชัน (Induction furnace : IF) โดยรัฐบาลจีนในปี 2021 ทำให้อุปทานสินค้าเหล็กในช่วงดังกล่าวหยุดชะงัก ต่อเนื่องมายังสงครามระหว่างรัสเซีย-ยูเครน ที่มีความรุนแรงขึ้นในเดือนมีนาคมปี 2022 ได้ส่งผลให้ราคาเหล็กปรับตัวเพิ่มขึ้นแบบก้าวกระโดดกว่า 60% เมื่อเทียบกับราคาเหล็กในช่วงก่อนปี 2021 อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่ช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 2022 มาถึงปี 2024 ราคาเหล็กได้มีการปรับตัวลดลงมาอย่างต่อเนื่อง จนทำให้ผู้ประกอบการ
ในอุตสาหกรรมเหล็กของไทย ได้แก่ ผู้ผลิตเหล็ก และผู้ค้าเหล็ก ต่างเผชิญภาวะรายได้ที่หดตัว รวมถึงกลุ่มที่ไม่สามารถบริหารจัดการสต็อกได้ดี ยังเผชิญภาวะขาดทุนจากสต็อกสินค้าที่ระบายได้ช้ากว่าอัตราการลดลงของราคาเหล็ก
การผลิตเหล็กของไทยเป็นการผลิตเพื่อใช้งานในประเทศเป็นหลัก โดยในช่วงปี 2019-2023 มีการผลิตเหล็กในประเทศประมาณ 7.5 ล้านตัน/ปี แบ่งเป็นการผลิตเหล็กทรงยาวที่ใช้ในการก่อสร้าง 70% และอีก 30% เป็นการผลิตเหล็กทรงแบน
ที่นำไปใช้ทั้งในการก่อสร้าง การผลิตรถยนต์ และชิ้นส่วนอุปกรณ์เครื่องใช้ต่าง ๆ ขณะที่ความต้องการใช้งานเหล็กโดยรวม
ในประเทศประมาณ 17.3 ล้านตัน/ปี ในจำนวนนี้ เป็นการนำเข้าเหล็กจากต่างประเทศมาใช้งานมากถึง 11.5 ล้านตัน/ปี
คิดเป็นสัดส่วน 66% ของปริมาณการใช้งานเหล็กในประเทศ
ทั้งนี้ในระยะ 5 ปีที่ผ่านมา การนำเข้าเหล็กของไทยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากปัจจัยต่าง ๆ เช่น โครงสร้างต้นทุน ราคาเหล็กจากต่างประเทศที่ถูกกว่า การส่งสินค้าเหล็กเข้ามาทุ่มตลาด การระบายอุปทานส่วนเกินของเหล็กจีนจากวิกฤตอสังหาริมทรัพย์ที่ทำให้ความต้องการเหล็กในจีนหดตัว ส่งผลให้ผู้ผลิตเหล็กของไทยต้องเผชิญกับภาวะการแข่งขันที่รุนแรงมากขึ้น กระทบกับความสามารถในการสร้างรายได้ และรักษาอัตรากำไร โดยอัตราการใช้กำลังการผลิตเหล็กในประเทศ
ที่ลดลงจนเข้าสู่ระดับที่ต่ำกว่า 30% ของกำลังการผลิตโดยรวม สะท้อนภาวะวิกฤตของอุตสาหกรรม
Industry outlook and trend
การใช้งานเหล็กในประเทศตลอดทั้งปี 2024 มีแนวโน้มลดลง 2.9%YOY จากความล่าช้าในการจัดทำงบประมาณประจำปี 2024 ในช่วงสี่เดือนแรกของปี รวมถึงการก่อสร้างโครงการที่อยู่อาศัย และยอดการผลิตรถยนต์ที่หดตัว ขณะที่ราคาเหล็กยังมีแนวโน้มลดลงต่อเนื่องไปจนถึงปี 2025
ปริมาณการใช้งานเหล็กสำเร็จรูปในช่วง 7 เดือนแรกของปี 2024 อยู่ที่ 9.4 ล้านตัน หดตัว 5.2%YOY จากความล่าช้าในการจัดทำงบประมาณประจำปี 2024 รวมถึงการลงทุนก่อสร้างโครงการที่อยู่อาศัย และยอดการผลิตรถยนต์ที่หดตัวในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 2024 แม้ว่าจะสามารถเร่งเบิกจ่ายงบประมาณประจำปี 2024 ในช่วงท้ายปีงบประมาณได้ แต่คาดว่ายังไม่สามารถชดเชยปริมาณการใช้งานเหล็กที่หดตัวตั้งแต่ช่วงต้นปีได้ ส่งผลให้ความต้องการใช้งานเหล็กในประเทศปี 2024 มีแนวโน้มอยู่ที่ 15.9 ล้านตัน (-2.9%YOY) สำหรับในปี 2025 อุปสงค์การใช้งานเหล็กในประเทศมีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้น 1.1%YOY ตามกิจกรรมก่อสร้าง รวมถึงยอดการผลิตรถยนต์ในประเทศที่คาดว่าจะขยายตัวได้ดีกว่าในปี 2024
ราคาเฉลี่ยเหล็กทรงยาว และเหล็กทรงแบนในช่วงครึ่งหลังของปี 2024 มีแนวโน้มอยู่ที่ประมาณ 22,000 บาท/ตัน
และ 24,000 บาท/ตัน ตามลำดับ โดยราคาเหล็กในปี 2025 ยังคงมีแนวโน้มลดลงต่อเนื่องเฉลี่ยประมาณ -2.3%YOY
ตามแนวโน้มราคาเหล็กในจีนที่ปรับตัวลดลงจากราคาวัตถุดิบ และราคาพลังงาน ได้แก่ สินแร่เหล็ก และถ่านหิน ที่คาดว่า
จะลดลง และยังมีปัจจัยกดดันราคาเหล็ก จากอุปสงค์ที่อ่อนแอจากวิกฤตภาคอสังหาริมทรัพย์ของจีนที่คาดว่าจะยังไม่ฟื้นตัว
การผลิตเหล็กในปี 2025 มีแนวโน้มขยายตัวเล็กน้อย จากการผลิตเหล็กทรงยาวที่เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม ยังเผชิญการเข้ามาตีตลาดของเหล็กราคาถูกจากต่างประเทศ
ในปี 2025 การผลิตเหล็กของไทยมีแนวโน้มอยู่ที่ประมาณ 5.8 ล้านตัน (+0.8%YOY) จากการผลิตเหล็กทรงยาวที่เพิ่มขึ้น
โดยมีปัจจัยหนุนจากกิจกรรมการก่อสร้างในประเทศ ขณะที่การผลิตเหล็กทรงแบนยังมีปัจจัยกดดันจากการแข่งขันกับเหล็ก
ที่ถูกระบายมาจากจีน ทั้งนี้อุปทานเหล็กโดยรวมที่มาจากการผลิตในประเทศ และการนำเข้า ฟื้นตัวสอดคล้องกับความต้องการใช้งานเหล็กในประเทศ อย่างไรก็ตาม การผลิตเหล็กของไทยคิดเป็นสัดส่วนเพียง 33% ของอุปทานเหล็กโดยรวม ซึ่งเป็นสัดส่วนที่ลดลงจากในอดีต โดยอัตราการใช้กำลังการผลิต (%CapU) เหลือเพียง 30% ในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2024 ลดลงจาก 32% ในช่วงเวลาเดียวกันของปี 2023 ซึ่งถือว่าเป็นภาวะวิกฤตของอุตสาหกรรมเหล็ก เมื่อเทียบกับในอดีตปี 2016-2021 ที่อัตราการใช้กำลังการผลิตอยู่ที่ราว 35-40%
ที่มา : การวิเคราะห์โดย SCB EIC จากข้อมูลของสถาบันเหล็ก และกระทรวงพาณิชย์
สัดส่วนปริมาณการผลิตเหล็กของไทยที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง มีสาเหตุหลักมาจากการเข้ามาตีตลาดของเหล็กราคาถูก
จากต่างประเทศที่มีความได้เปรียบด้านโครงสร้างราคา โดยเฉพาะจากจีน ซึ่งยังเป็นผลมาจากการระบายสินค้าเหล็กที่เป็นอุปทานส่วนเกิน ที่ยังมีการผลิตเกินความต้องการใช้งาน และคาดว่าเหล็กจากจีนยังคงจะถูกระบายออกมายังไทยเพิ่มมากขึ้นในปี 2025 เนื่องจากภาคอสังหาริมทรัพย์ที่ยังไม่ฟื้นตัว
อย่างไรก็ตาม ยังต้องติดตามผลการพิจารณาการต่ออายุมาตรการปกป้องสินค้าที่ถูกนำเข้ามาทุ่มตลาด (Anti-dumping : AD) ที่ไทยมีการใช้กับสินค้าเหล็กประเภทต่าง ๆ จากจีน ที่จะสิ้นสุดในช่วงที่เหลือของปี 2024-2025 ได้แก่ เหล็กกล้าไร้สนิมรีดเย็น เหล็กแผ่นรีดร้อนเจือโบรอน เหล็กแผ่นรีดเย็นชนิดเป็นม้วนและไม่เป็นม้วน และเหล็กแผ่นรีดเย็นชุบหรือเคลือบด้วยโลหะเจือของอะลูมิเนียมและสังกะสีแบบจุ่มร้อน ที่ยังคงถูกนำเข้ามาอย่างต่อเนื่อง และส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมการผลิตเหล็กของไทยค่อนข้างมาก รวมถึงยังต้องติดตามปริมาณการนำเข้าลวดเหล็กที่เพิ่มขึ้นอย่างผิดปกติในช่วงปี 2023-2024 ว่าจะเป็นสินค้าเหล็กที่ถูกนำเข้ามาด้วยวิธีการทุ่มตลาดหรือไม่
ทั้งนี้มาตรการ AD ซึ่งมีกลไกของการตั้งกำแพงภาษีนำเข้า จะช่วยลดปริมาณสินค้าเหล็กที่ถูกนำเข้ามาทุ่มตลาด ดังตัวอย่างกรณีการต่ออายุมาตรการ AD กับสินค้าเหล็กแผ่นรีดเย็นเคลือบหรือชุบอะลูมิเนียมและสังกะสีแล้วทาสีจากเวียดนาม
ในเดือนพฤษภาคม 2023 ได้ส่งผลให้การนำเข้าสินค้าดังกล่าวจากเวียดนามลดลงทันที หลังจากที่มีการประกาศต่ออายุมาตรการออกไปอีก 5 ปี อย่างไรก็ตาม ผลของการใช้มาตรการ AD อาจเป็นไปอย่างจำกัด ดังตัวอย่างกรณีที่ไทยมีการใช้มาตรการ AD กับสินค้าเหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดเป็นม้วนและไม่เป็นม้วนจากจีนมาโดยตลอด แต่ก็ยังคงพบว่า การนำเข้าสินค้าดังกล่าวจากจีนมีปริมาณเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากมีราคาที่ถูกกว่า 15-20% เมื่อเทียบกับราคาสินค้าที่ผลิตในประเทศ แม้รวมอัตราภาษีจากมาตรการ AD แล้ว โดยเป็นผลมาจากต้นทุนการผลิตเหล็กจีน ที่ต่ำกว่าต้นทุนการผลิตเหล็กในไทยเป็นอย่างมาก กับอีกส่วนหนึ่งเป็นการนำเข้าสินค้าเหล็กแผ่นที่มีโครงสร้างราคาที่ต่ำกว่ามาก ที่เป็นการนำเข้าด้วยวิธีปกติ
Competitive landscape
ผู้ประกอบการกลุ่มที่มีศักยภาพในการแข่งขัน ได้แก่ กลุ่มที่มีความสามารถในการบริหารจัดการต้นทุน และระบายสต็อก รวมถึงกลุ่มที่สามารถปรับกระบวนการผลิตที่ลดการปล่อย GHG ได้
ในช่วงที่ผ่านมา ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมเหล็กจำนวนมากประสบกับภาวะขาดทุน ทั้งกลุ่มผู้ผลิตที่มียอดขายลดลง
จากการลดลงของราคาเหล็ก และการลดปริมาณการผลิตเหล็ก เนื่องจากไม่สามารถแข่งขันกับเหล็กจากต่างประเทศที่ราคาถูกกว่า รวมถึงยังเผชิญกับภาวะขาดทุนจากต้นทุนสินค้าในสต็อกที่ได้มาในช่วงเวลาก่อนหน้า สูงกว่าราคาในช่วงที่มีการจำหน่าย อย่างไรก็ตาม ยังมีกลุ่มผู้ประกอบการที่มีศักยภาพในการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน ที่สามารถบริหารความเสี่ยง และมีความยืดหยุ่นในการปรับกลยุทธ์ โดยเฉพาะการจัดหาวัตถุดิบ ทั้งจากในประเทศ และต่างประเทศ ทำให้สามารถจัดหาวัตถุดิบได้ในราคาและปริมาณที่เหมาะสมกับแผนการผลิต และสามารถระบายสต็อกสินค้าได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งจะเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถรักษาผลประกอบการท่ามกลางความผันผวนของราคาเหล็กได้
นอกจากนี้ การเข้ามาตีตลาดของเหล็กราคาถูกจากต่างประเทศ รวมทั้งการเข้ามาทำการตลาดเชิงรุก เช่น การเข้ามาเปิดโชว์รูมสินค้าเหล็กของผู้ผลิต และผู้ค้าเหล็กจากจีน เพื่อให้ลูกค้าสามารถสั่งซื้อสินค้าเหล็กจากโรงงานในจีนโดยตรง ส่งผลให้ทั้งผู้ผลิตเหล็ก และผู้ค้าเหล็กของไทย ต้องเผชิญการแข่งขันที่รุนแรงขึ้น โดยสินค้าจากจีนมีความได้เปรียบในด้านการกำหนดราคาขายได้ต่ำ จากปริมาณการผลิตที่มากจนเกิด Economies of Scale ดังนั้น กลุ่มผู้ผลิตเหล็กของไทย จึงควรหันมาพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานของสินค้า ขณะที่ภาครัฐจำเป็นต้องออกมาตรการต่าง ๆ ควบคู่กันไป เช่น การเพิ่มอัตราภาษีนำเข้าสินค้าเหล็กจากจีน การใช้มาตรการ AD เพื่อสกัดสินค้าที่ถูกนำเข้ามาทุ่มตลาด การกำหนดมาตรฐานสินค้าเหล็กนำเข้าและส่งออก การจำกัดการอนุญาตตั้งโรงงานเหล็กแห่งใหม่เพื่อรักษาอัตราการใช้กำลังการผลิต โดยเฉพาะผู้ผลิตจากจีน ที่มีแนวโน้มย้ายฐานการผลิตเข้ามาเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาความขัดแย้งเชิงภูมิรัฐศาสตร์
สำหรับในระยะข้างหน้า อุตสาหกรรมเหล็กไทยจำเป็นต้องปรับตัวให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ตามเทรนด์ของโลกที่มุ่งไปสู่การบรรลุเป้าหมาย Carbon neutrality การตั้งเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (GHG) ส่งผลให้ประเทศต่าง ๆ เริ่มใช้นโยบาย และกฎระเบียบด้านสิ่งแวดล้อมมากขึ้น โดยเฉพาะการจัดเก็บภาษี CBAM ของกลุ่มสหภาพยุโรป (EU) สำหรับอุตสาหกรรมเหล็กไทย ปัจจุบันได้มีกลุ่มผู้ประกอบการเริ่มเตรียมความพร้อมบ้างแล้ว เช่น การวัดปริมาณการปล่อย GHG การเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานสะอาดในขั้นตอนการผลิต รวมถึงเริ่มมีการจับกลุ่มคลัสเตอร์ผู้ผลิตเหล็กที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในห่วงโซ่อุปทานการผลิต โดยผู้ผลิตเหล็กที่สามารถปรับกระบวนการผลิตที่ลดการปล่อย GHG และผู้ค้าเหล็กที่สามารถจำหน่ายสินค้าเหล็กที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของผู้ใช้งานในห่วงโซ่อุปทาน จะเป็นกลุ่มที่มีความได้เปรียบทางการแข่งขันในตลาด มีโอกาสเพิ่มมูลค่าสินค้า และขยายฐานลูกค้าใหม่ ๆ โดยเฉพาะในยุโรปที่กำลังอยู่ในช่วงการเปลี่ยนผ่านไปสู่การจัดเก็บภาษีคาร์บอนข้ามพรมแดน (CBAM) รวมถึงสหรัฐอเมริกาที่มีแนวโน้มดำเนินนโยบายในลักษณะเดียวกันในอนาคต นอกจากนี้ การจัดทำ Thailand Taxonomy Phase II ซึ่งเป็นการจัดกลุ่มอุตสาหกรรม เพื่อให้ภาคการเงินออกแบบ และนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินช่วยสนับสนุนธุรกิจไปสู่เส้นทางที่เป็นสีเขียว จะเป็นโอกาสให้ผู้ผลิตเหล็กที่มีแผนลดการปล่อย GHG มีโอกาสเข้าถึงผลิตภัณฑ์ทางการเงินสำหรับการปรับตัวเข้าสู่ Carbon neutrality ได้มากขึ้น
โดย : นางสาววรรณโกมล สุภาชาติ
นักวิเคราะห์ ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ (SCB EIC)
Better Prospect Better Industrial Ecosystem